
หมูรมควันจากที่ไหนของจีนอร่อยที่สุด
เมื่อเดือนธันวาคมมาถึง ลมทางตะวันตกเฉียงเหนือกำลังพัดมา ยุงกำลังซ่อนตัวจากความหนาวเย็นและอากาศก็แห้งมากขึ้น ณ ช่วงเวลานี้เนื้อสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น ก็เลยได้เกิดมีการทำหมูรมควันขึ้นมาในตลาดขายผักนั้นมีไส้กรอกมากมาย เดินผ่านมาทางตลาดเก่า ๆ ก็พบหมูรมควันแขวนเรียงรายอยู่เหนือหัวของเราด้วยมาดูกันว่าหมูรมควันของจีนที่ไหนอร่อยที่สุด

ที่มา : www.6parkbbs.com
หมูรมควันของชาวเซียงซี (ภาคตะวันตกของมณฑลหูหนาน)
หมูรมควันของชาวเซียงซี (ภาคตะวันตกของมณฑลหูหนาน) ราว ๆ เดือนธันวาคม ชาวเซียงซีเริ่มฆ่าหมูเพื่อทำหมูรมควัน หั่นเนื้อเป็นเส้น ๆ หมักด้วยเกลือเม็ดหยาบ แขวนไว้บนกองไฟแล้วทำการรมควัน กลุ่มควันสีขาวที่ลอยมาทำให้สำลักเล็กน้อย แต่กลิ่นหอมของส่วนผสมที่รมควันลอยก็อบอวลอยู่บริเวณรอบ ๆ คานบ้านและเนื้อที่ห้อยอยู่ก็เริ่มร้อนฉ่าไปด้วยน้ำมัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภูเขาสูงและหุบเขาลึกทางตะวันตกของเมืองหูหนาน หมอกในฤดูหนาวจึงไม่คงที่และมีอากาศเย็น ดังนั้นหมูรมควันจึงต้องใช้เวลารมควันนาน หมูรมควันที่ปรุงสุกแล้วจะมีความไหม้เกรียม หมูหมักรมควันของชาวเซียงซีนั้นรสชาติดีและเนื้อยังมีความพิเศษ หมูรมควันที่ทำจากหมูที่เลี้ยงแบบปล่อยดีที่สุด เนื้อไม่ติดมัน หากไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมหูหนาน (湖南科技大学) มณฑลหูนาน ในช่วงฤดูหนาวก็อาจจะได้ไปลองชิมหมูรมควันของชาวเซียงซี

ที่มา : www.6parkbbs.com
หมูรมควันของชาวเสฉวน
หมูรมควันของชาวเสฉวน จะมีรสชาติที่ชาลิ้นมากเป็นพิเศษเมื่อเทียบกับหมูรมควันของหูหนาน ในเมืองเต็มไปด้วยพริกฮวาเจียวและนอกจากวิธีการรมควันที่ทำคล้ายกับหูหนานแล้ว ยังมีรสชาติของความเผ็ดชาอีกด้วย หมักด้วยพริก ใบกระวาน โป๊ยกั๊ก พริกไทย ฮวาเจียว ไวน์ขาวเทส่วนผสมหมักลงบนหมู ตั้งเตาไฟและนำลงไปอบช้า ๆ จนไส้กรอกเป็นสีทองและค่อย ๆ เป็นสีแดงเข้มขึ้น และเมื่อกินไส้กรอกและหมูรมควันรสหมาล่า ก็ถือได้ว่าเป็นไฮไลท์ของคนในท้องถิ่น เมื่อได้ลองกัดคำแรก รสชาก็เริ่มติดที่ปลายลิ้นและหลังจากนั้นทั้งปากก็ชา และถ้าหากไปเรียนที่มหาวิทยาลัยการเงินและเศรษฐศาสตร์แห่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ (四川财经大学) ในมณฑลเสฉวน ก็อาจจะได้เห็นวิธีการทำและได้ลองรสชาติหมูรมควันของที่นี่

ที่มา : www.6parkbbs.com
หมูรมควันของชาวกวางตุ้ง
หมูรมควันของชาวกวางตุ้ง รสชาติจะไม่เผ็ดและชาเพราะคนกวางตุ้งกินรสชาติเบา ๆ เวลาปรุงหมูรมควันจะใส่เกลือน้อยลงและใส่น้ำตาลมากขึ้น ใส่ซีอิ๊วขาวและไวน์จีนประกอบอาหารมากขึ้น หมูรมควันจึงมีรสชาติที่หวาน ข้าวที่หุงด้วยหม้อดินและหมูรมควันเป็นอะไรที่เข้ากันที่สุด แต่ไส้กรอกของที่นี่จะแตกต่างกว่าที่อื่นเพราะไส้กรอกถูกมัดแน่นจนกลายเป็นลูกกลม ๆ เมื่อลมในฤดูใบไม้ร่วงพัดมาให้กินหมูรมควัน ส่วนไส้กรอกสไตล์กวางตุ้งเต็มไปด้วยกลิ่นหอมของเนื้อนุ่ม ๆ และกลิ่นหอมของไวน์ และถ้าหากไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยซัวเถา (汕头大学) มณฑลกวางตุ้ง ก็ต้องอย่าพลาดเมนูนี้

ที่มา : www.6parkbbs.com
หมูรมควันของชาวอันฮุย
หมูรมควันของชาวอันฮุย ว่ากันว่าหมูรมควันที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลอันฮุย หลายหมู่บ้านทางตอนใต้ของมณฑลอันฮุยยังคงผลิตหมูรมควันด้วยมือ ซึ่งแตกต่างจากจินหัวที่จะแปรรูปหมูรมควันด้วนเครื่องจักร หมักเอาไว้เป็นเดือนแล้วนำมาตากแดดซ้ำ ๆ บางคนบอกว่าหมูรมควันแบบนี้หอมมากกว่า หากไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อันฮุย (安徽农业大学) ที่ตั้งอยู่ในมณฑทลอันฮุย แล้วชอบวิธีการทำหมูรมควันแบบใช้มือทำก็ต้องอย่าพลาด
และทั้งหมดก็เป็นหมูรมควันจากมณฑลต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าวิธีการทำรสชาติ หรือการหมักส่วนผสมต่าง ๆ ลงบนหมูรมควันแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าลองกินแบบไหนแล้วถูกใจ