Ocean University of China
Ocean University of China ( OUC ) หรือ “ มหาวิทยาลัยสมุทรศาสตร์แห่งประเทศจีน “ มีชื่อภาษาจีนว่า “ 中国海洋大学 ” เรียกกันสั้นๆว่า “ 海大 ” เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของกระทรวงศึกษาธิการของรัฐเป็น ตั้งอยู่ในเมือง Qingdao หรือ ชิงเต่า (青岛 ) มณฑลซานตง ( 山东 )
Ocean University of China เป็นมหาวิทยาลัยสมาชิกของโครงการ 211 และโครงการ 985 ซึ่งเป็นโครงการสำคัญระดับชาติสองโครงการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยคุณภาพสูงของจีน การันตีด้วยตำแหน่งมหาลัย Class A ในโครงการ Double First Class University และยังมีชื่อเสียง โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล และด้านวิทยาศาสตร์การประมง
ปัจจุบันมีนักศึกษามากกว่า 32,000 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่า 16,000 คน นักศึกษาระดับปริญญาโทมากกว่า 13,000 คน นักศึกษาระดับปริญญาเอก มากกว่า 2,600 คน และ นักศึกษาต่างชาติมากกว่า 500 คน และมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 3,896 คน อาจารย์ประจำ 2,009 คน หัวหน้างานระดับปริญญาเอก 505 คน บุคลากรทางวิชาชีพและเทคนิคอาวุโส 735 คน รองบุคลากรทางวิชาชีพและเทคนิคอาวุโส 960 คน นักวิชาการ 7 คนของ Chinese Academy of Sciences และนักวิชาการ 9 คนของ Chinese Academy of Engineering นักฟิสิกส์ที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ “เฉียนจื้อหรง ” ได้รับการว่าจ้างให้เป็นที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนมี 3 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตเหลาซาน วิทยาเขตหยูซาน และวิทยาเขตฟูซาน ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 6,072 ไร่ และกำลังดำเนินการก่อสร้างวิทยาเขตชายฝั่งตะวันตก
วิทยาเขต
วิทยาเขตเหลาซาน ( 崂山校区)
วิทยาเขตเหลาซาน สร้างขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ตั้งอยู่ที่เชิงเขาเหลาซาน และปัจจุบันได้กลายเป็นวิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีน วิทยาเขตเหลาซานครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.21 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของคณะวิชาสมุทรศาสตร์และบรรยากาศ คณะวิทยาการสารสนเทศและวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิชาเคมีและวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ทางทะเล คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และคณะการจัดการ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวิชาภาษาต่างประเทศ คณะวิชาวรรณคดีและวารสารศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิเทศสัมพันธ์และสาธารณะ คณะการบริหารการจัดการ คณะวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ ศูนย์การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ภาควิชาพลศึกษา) สถาบันการศึกษาลัทธิมาร์กซ เป็นต้น นอกจากนี้ภายในวิทยาเขตยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ห้องสมุด โรงยิม สนามกรีฑา สระว่ายน้ำ ศูนย์ฝึกอบรมด้านวิศวกรรม และร้านอาหารมากกว่าสิบแห่ง
วิทยาเขตหยูซาน ( 鱼山校区 )
วิทยาเขตหยูซานเป็นวิทยาเขตที่เก่าแก่ที่สุด ตั้งอยู่ที่ถนนหยูซาน ซึ่งเคยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชิงเต่า และต่อมาคือมหาวิทยาลัยนานาชาติซานตง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 0.31 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่ของคณะประมง คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การอาหารและวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาศิลปะทั้งหมด ภายในวิทยาเขตประกอบด้วยอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่ง และยังเป็นอดีตที่ตั้ง ค่ายทหาร Bismarck ของเยอรมัน และอดีตที่ตั้งของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของญี่ปุ่น
วิทยาเขตฟูซาน
วิทยาเขตฟูซาน ตั้งอยู่ที่ถนนเซียงก่างตง เป็นวิทยาเขตตั้งอยู่ที่เชิงเขาฟูซานติดกับชายทะเล มีการคมนาคมสะดวก ในอดีต เป็นที่ตั้งของคณะการจัดการ คณะนิติศาสตร์ และคณะวารสารศาสตร์และการสื่อสาร ก่อนจะย้ายไปวิทยาเขตเหลาซาน ปัจจุบันวิทยาเขตฟูซาย เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย
ห้องสมุด
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2467 แบ่งออกเป็นวิทยาเขตหยูซานและวิทยาเขตเหลาซาน โดยมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 26.25 ไร่ และที่นั่งอ่านหนังสือมากกว่า 4,000 ที่นั่ง รวมถึงที่นั่งในห้องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์กว่า 210 ที่นั่ง ในปี พ.ศ. 2563 ห้องสมุดมีเอกสารกระดาษมากกว่า 2.8 ล้านเล่ม รวมถึงเอกสารกระดาษในภาษาต่างประเทศประมาณ 270,000 เล่ม วารสารภาษาจีนและภาษาต่างประเทศเกือบ 2,000 ฉบับ ฐานข้อมูลวรรณกรรมประมาณ 350 ฐานข้อมูลในภาษาจีนและภาษาต่างประเทศประมาณ 4.2 ล้าน ปริมาณหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และวารสาร วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ บทความมากกว่า 5.7 ล้านบทความ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 30,000 ฉบับ ครอบคลุมสาขาวิชาทั้งหมดในมหาวิทยาลัย
ค่าหอพักมหาวิทยาลัย
ค่าห้องดังนี้: หอพัก 8 คน 600 หยวน หอพัก 6 คน 800 หยวน หอพัก 4 คน 1,000-1,200 หยวน หอพักบัณฑิตรวมประมาณ 1,600 หยวน และหอพักนักศึกษาต่างชาติ 1,800 -2,000 หยวน ค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับสิ่งอำนวยความสะดวกในห้องนอนด้วย
บรรยากาศ
โรงอาหาร
การเดินทางของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนก็แสนสะดวกสบาย มีสถานีรถไฟความเร็วสูงหลายสาย และรถประจำทาง รถแท็กซี่ที่คอยรับส่งไปยังวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย สะดวกสุดๆ ในมหาวิทยาลัยยังมีรถบัสขนาดเล็กของมหาวิทยาลัยที่รองรับทั้งบัตรของมหาวิทยาลัยและวิธีแบบหยอดเหรียญ การชำระเงินด้วยบัตรของวิทยาเขตมีราคาไม่แพงมาก มาตรฐานการชาร์จคือ 1 หยวนต่อคน และเหรียญคือ 2 หยวนต่อคน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของครูและนักเเรียน นอกจากนี้ยังมีรถพยาบาลฉุกเฉินฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
ภาพบรรยากาศในเมืองชิงเต่า
คณะสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีน อยากเรียนต่อที่จีนต้องอ่าน
มหาวิทยาลัยมีวิทยาลัย คณะ สาขาและภาควิชามากกว่า 22 แห่ง ได้แก่
- วิทยาลัยศึกษาชีวิตทางทะเล
- วิทยาลัยจงเปิ่น
- วิทยาลัยฮ่ายเต๋อ
- สถาบันความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการทางทะเล
- สถาบันวรรณคดีและการออกอากาศ – วิทยาลัยหยวนสิง
- สถาบันการศึกษาลัทธิมาร์กซ
- คณะสมุทรศาสตร์และบรรยากาศ
- คณะสารสนเทศศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
- คณะวิชาเคมีและวิศวกรรมเคมี
- คณะวิทยาศาสตร์โลกทางทะเล
- คณะวิชาการประมง
- คณะวิทยาศาสตร์อาหารและวิศวกรรมศาสตร์
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ – ศูนย์อบรมด้านวิศวกรรม
- คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
- คณะบริหารและการจัดการ
- คณะเศรษฐศาสตร์
- คณะวิชาภาษาต่างประเทศ
- คณะนิติศาสตร์
- คณะวิเทศสัมพันธ์และรัฐประศาสนศาสตร์
- คณะวิชาคณิตศาสตร์
- คณะวิชาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
- ห้องปฏิบัติการสมุทรศาสตร์ทางกายภาพของกระทรวงศึกษาธิการ
- ห้องปฏิบัติทฤษฎีเคมีทางทะเลและเทคโนโลยีวิศวกรรมศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ
- ห้องปฏิบัติการหลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการสำรวจก้นทะเลของกระทรวงศึกษาธิการ
- ศูนย์การสอนขั้นพื้นฐาน
- สาขาศึกษาศาสตร์
- สาขาวิจิตรศิลป์
- สาขาพลศึกษา
อยากเรียนต่อที่จีนต้องมาดูกันว่าการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีน
โรงอาหาร
สำหรับใครที่อยากไปเรียนที่จีนทาง Jinbu scholarship ได้นำการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนมาให้ทุกคนดูคร่าว ๆ
จากการจัดอันดับของ QS World University Comprehensive Ranking มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนจัดอยู่ในอันดับที่ 245 จากการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยทั่วโลกในปี พ.ศ. 2565
- ปี พ. ศ .2564 มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 281
- ปี พ. ศ .2563 มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนจัดอยู่ในอันดับที่ 261
- ปี พ. ศ .2562 มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 241
และในปี พ.ศ. 2565 การจัดอันดับล่าสุดของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนได้อยู่ในอันดับที่ 42 ของประเทศจีน ( อ้างอิงจากข้อมูลการจัดอันดับที่ทั้งหมดในปี 2564 ) โดยข้อมูลการจัดอันดับมาจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับประเทศที่เผยแพร่โดยองค์กรภายนอก เช่น “Alumni Association Edition”, “Soft Science”, “USNews” เป็นต้น
อันดับระดับประเทศของมหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนในช่วงปีที่ผ่านมา
ตามข้อมูลที่เผยแพร่โดย iResearch China Alumni Association University Rankings มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนจะอยู่ในอันดับที่ 42 ทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2564
- ปี พ. ศ .2563 มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนจัดอยู่ในอันดับที่ 41
- ปี พ. ศ .2562 มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 54
- ปี พ. ศ .2561 มหาวิทยาลัยมหาสมุทรแห่งประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 50
ต่อต่อทีมงานจิ้นปู้
แอด LINE Official
ไม่พลาดทุกโอกาส
ชั้น 3 จามจุรีสแควร์ ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ (MRT สถานีสามย่าน)